พล.อ.ประยุทธ์ จะล้ม ‘บัตรทอง’?
“ผมอยากให้ประชาชน ออกกำลังกายกันให้มากขึ้นจะได้ปวดหัวกันน้อยลง การรักษาพยาบาลก็จะลดลง จะได้มีเงินไปดูแลส่วนอื่น” – พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
การชักชวนให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ กลายเป็นประเด็นที่ถูกผูกโยงเข้ากับกรแสการพิจารณาตัดหรือลดทอนสิทธิ์การรักษาของ “บัตรทอง” ซึ่งสืบเนื่องมาจากการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขกฎหมายบัตรทองหรือ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 รวมทั้งการนำ ม.44 มาใช้ในการแก้กฎหมาย ยิ่งทำให้เกิดความหวาดหวั่นว่าสิทธิการรักษาที่มีมากว่า 16 ปีนี้จะไม่เหมือนเดิม
เรื่องการล้มบัตรทองเป็นเรื่องที่เท็จ พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะสิทธิบัตรทองไม่ได้เปลี่ยนแปลงทั้งยังมีสิทธิเพิ่มเติมด้วย และบัตรทองยังคงเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชนดังเดิมไม่ใช่แค่ไม่ยกเลิกสิทธิบัตรทอง แต่ยังให้มากกว่าด้วย
โดยล่าสุดมีสิ่งยืนยันจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่เปิดเผยดัชนีความมีประสิทธิภาพด้านระบบดูแลสุขภาพของโลกปี 2018 โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 27 จากทั้งหมด 56 ประเทศ เลื่อนจากเดิมถึง 14 อันดับซึ่งเป็นประเทศที่เลื่อนอันดับมากที่สุดในครั้งนี้ ระบบดูแลสุขภาพของโลกปี 2018 ได้เห็นประเทศไทยกระโดดลำดับมากที่สุดในโลก และได้ทำคะแนนสูงกว่าสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเยอรมันด้วย
แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเคยเปรยคำพูดในลักษณะที่ว่า คนไม่ดูแลสุขภาพเพราะรัฐบาลให้การรักษาฟรี และถึงแม้ว่ากระทรวงการคลังจะมีแนวคิดเสนอให้เก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้มีรายได้เกินปีละ 1 แสนบาทขึ้นไปนั้น หากแต่จนถึงวินาทีนี้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่คุ้นชินกันในชื่อของ “บัตรทอง” ก็ยังคงอยู่ และประชาชนก็ยังได้สิทธิ “รักษาฟรี” อย่างมีคุณภาพต่อไปเรื่อย ๆ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยืนกรานและเน้นย้ำหลากหลายครั้งว่าไม่มีแนวคิดล้มบัตรทอง จะมีก็แต่ปรับเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัว และเพิ่มสิทธิประโยชน์หลากหลายรายการ จนผลการดำเนินนโยบายถูกยกให้เป็นต้นแบบของนานาประเทศ และได้รับความชื่นชมจากเวทีโลกอย่างกว้างขวาง
มากไปกว่านั้น รัฐบาลยังได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยการให้บริการเชิงรุก อย่างการทำคลอดนโยบาย “คลินิกหมอครอบครัว” และการเปิดช่องให้มี “นักบริบาลชุมชน” ดูแลผู้ป่วยถึงภายในบ้านอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งประเทศ
ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพต่อคนลดลงถึงร้อยละ 40 คิดเป็น 219 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7,086 บาท ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 75.1 ปี จากเดิมที่ 74.6 เมื่อปีที่ผ่านมา